เจ็ดเสมียน

ลักษณะที่ตั้ง


ลักษณะที่ตั้ง/อาณาเขตและเขตการปกครอง
          เทศบาลตำบลเจ็ดเสมียน ตั้งอยู่เลขที่ ๑๖๘ หมู่ที่ ๒  ตำบลเจ็ดเสมียน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ริมทางหลวงจังหวัด หมายเลข ๓๒๓๘ ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ (เดิม)กับถนนเลียบแม่น้ำแม่กลอง พื้นที่ของเทศบาลตำบลเจ็ดเสมียนครอบคลุมตำบลเจ็ดเสมียน หมู่ที่ ๑,๒,๓,๔,๕และ ๖ จำนวน  ๖  หมู่บ้าน มีพื้นที่ทั้งสิ้น  ๑๒  ตารางกิโลเมตร อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอโพธาราม  ประมาณ ๗ กิโลเมตร และอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดราชบุรี ประมาณ ๑๓ กิโลเมตร โดยมีอาณาเขตดังนี้

ด้านเหนือ ติดต่อเขตตำบลคลองข่อย อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

ด้านตะวันออก จากหลักเขตที่ ๒ ถือตามเส้นแบ่งเขตตำบลเจ็ดเสมียนกับตำบลดอนทราย ไปทางทิศใต้และถือตามเส้นแบ่งเขต ตำบลเจ็ดเสมียนกับตำบลสามเรือน อำเภอเมืองราชบุรี ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ ๓ ซึ่งอยู่ตรงเส้นแบ่งเขตตำบลเจ็ดเสมียนกับตำบลท่าราบ อำเภอเมืองราชบุรี

ด้านใต้ จากหลักเขตที่ ๓ ถือตามเส้นแบ่งเขตตำบลเจ็ดเสมียน กับตำบลท่าราบ อำเภอเมืองราชบุรี ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ ๔ ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลองฝั่งตะวันตก

ด้านตะวันตก จากหลักเขตที่ ๔ เลียบตามริมแม่น้ำแม่กลองฝั่งตะวันออกไปทางทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือบรรจบเขตตำบลคลองข่อย


ลักษณะสังคม

ศาสนา
          ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเจ็ดเสมียน ส่วนใหญ่มีเชื้อชาติไทย นับถือศาสนาพุทธ และมีประเพณีการประกอบพิธีกรรมในวันสำคัญต่างๆ ทางศาสนาเป็นประจำ เพื่อเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรม อันดีงาม ทางราชการและ ได้ร่วมกันจัดให้มีงานประเพณีที่สำคัญๆเช่นงานวันเฉลิมพระชนมพรรษา, งานวัน วิสาขบูชา, งานประเพณีแห่ดอกไม้ท้ายสงกรานต์, วันเข้าพรรษา,  งานประเพณีลอยกระทง เป็นต้น ซึ่งงานประเพณีดังกล่าวจะจัดตามเทศกาลประเพณีนิยม  เทศบาล ให้การสนับสนุนตลอดมา
ในพื้นที่เทศบาลตำบลเจ็ดเสมียน มีวัดทางพุทธศาสนา  4  วัดคือ

๑.  วัดใหม่ชำนาญ ตั้งอยู่หมู่ที่  ๑ ตำบลเจ็ดเสมียน

๒.  วัดเจ็ดเสมียน ตั้งอยู่หมู่ที่  ๓ ตำบลเจ็ดเสมียน

๓.  วัดสนามชัย ตั้งอยู่หมู่ที่  ๓  ตำบลเจ็ดเสมียน

๔.  วัดตึกหิรัญราษฎร์ ตั้งอยู่หมู่ที่  ๔ ตำบลเจ็ดเสมียน





การศึกษา
เทศบาลตำบลเจ็ดเสมียนมีโรงเรียนสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ๔   แห่ง  ได้แก่
         ๑.  โรงเรียนชุมชนวัดเจ็ดเสมียน
         ๒.  โรงเรียนวัดสนามชัย
         ๓.  โรงเรียนวัดตึกหิรัญราษฎร์
ระดับอนุบาล มี  ๑  แห่ง  ได้แก่    โรงเรียนอนุบาลวัดสนามชัย
ระดับก่อนปฐมวัย มี  ๑  แห่ง  ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลเจ็ดเสมียน



การสาธารณสุข
          เขตเทศบาลตำบลเจ็ดเสมียน มีโรงพยาบาลชุมชน ขนาด ๓๐ เตียง อยู่  ๑  แห่ง ได้แก่         โรงพยาบาลเจ็ดเสมียน ให้บริการรักษาพยาบาลแก่ประชาชนในเขตเทศบาล และพื้นที่โดยรอบ ในด้านการปฐมพยาบาล การทำคลอดและอุบัติเหตุโดยทั่วไป


จำนวนบุคลากรทางการแพทย์ในเขตเทศบาล

จำนวนแพทย์
คน

จำนวนเภสัชกร
คน

จำนวนเภสัชกรรมชุมชน
คน

จำนวนพยาบาล ๖๔
คน

จำนวนทันตแพทย์
คน

จำนวนทันตสาธารณสุข
คน

จำนวนนักวิชาการสาธารณสุข 
คน

จำนวนเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
คน

จำนวนวิทยาศาสตร์การแพทย์   
คน


 ลักษณะทรัพยากร



สภาพภูมิอากาศ
          เทศบาลตำบลเจ็ดเสมียนอยู่ในเขตภาคกลาง ซึ่งมีสภาพภูมิอากาศอยู่ในเขตโซนร้อนอุณหภูมิสูงสุด ๓๐ องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด ๒๐ องศาเซลเซียส และอุณหภูมิโดยเฉลี่ย ๒๕ องศาเซลเซียส  ทั้งนี้ เทศบาลตำบลเจ็ดเสมียนเป็นแบบฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดู  แบ่งออกได้ ๓ ฤดู คือ

ฤดูฝน เริ่มในเดือนเมษายน – พฤษภาคม ถึง   ตุลาคม – พฤศจิกายน

ฤดูหนาว เริ่มในเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม ถึง  กุมภาพันธ์

ฤดูร้อน เริ่มในเดือนกุมภาพันธ์  ถึง เมษายน





          ปริมาณน้ำฝนสูงสุด ๒๕๘.๓๐ มิลลิเมตร ปริมาณน้ำฝนต่ำสุด ๑๒.๒๐ มิลลิเมตร และปริมาณ
น้ำฝนโดยเฉลี่ย ๑,๐๐๐ – ๑,๒๕๐ มิลลิเมตร



ทรัพยากรน้ำ
          แหล่งน้ำผิวดินสำคัญของเทศบาลตำบลเจ็ดเสมียน ซึ่งใช้ประโยชน์ในการอุปโภคบริโภค และเกษตรกรรมภายในเขตเทศบาลตำบลเจ็ดเสมียน ได้แก่ แม่น้ำแม่กลอง มีความสำคัญเป็นลำน้ำสายหลักของอำเภอโพธาราม และอื่นๆ ในจังหวัดราชบุรี   ต้นน้ำเกิดในบริเวณเขตแดนไทยกับสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า ไหลผ่านอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี และอำเภอต่างๆ ในจังหวัดราชบุรี และไหลผ่านสู่อ่าวไทยที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม
          นอกนั้น บริเวณพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำแม่กลอง มีลำน้ำสายย่อยตลอดจนคลองขุดและคลองซอย จำนวนมากสามารถใช้น้ำได้ตลอดปี



ทรัพยากรป่าไม้
          ป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์อื่นๆ เพราะป่าไม้มีประโยชน์ทั้งเป็นแหล่งวัตถุดิบของปัจจัยสี่ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค และยังมีประโยชน์ในการรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อม ถ้าป่าไม้ถูกทำลายลงไปมากๆ ย่อมส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น สัตว์ป่า ดิน น้ำ อากาศ ฯลฯ
          เทศบาลตำบลเจ็ดเสมียน ได้ดำเนินการตามโครงการพระราชดำริในการปลูกต้นไม้ บริเวณริมถนนสาธารณะ เพื่อส่งเสริมให้มีต้นไม้เพิ่มมากขึ้น โดยมีโครงการดำเนินการปลูกเพิ่มขึ้นทุกปี




สภาพสิ่งแวดล้อม
          สิ่งแวดล้อม มิใช่หมายถึง เฉพาะเรื่องน้ำเสียจากชุมชน หรือแหล่งอุตสาหกรรม  ควันและไอเสียของรถยนต์หรือมูลฝอย ฯลฯ แต่หมายความรวมถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นรูปธรรม (จับต้องและมองเห็นได้) และนามธรรม (วัฒนธรรมแบบแผน ประเพณีความเชื่อ) มีอิทธิพลเกี่ยวโยงถึงกันเป็นปัจจัยในการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน    ผลกระทบจากปัจจัยหนึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างหรือทำลายอีกส่วนหนึ่งอย่างหลีก เลี่ยงมิได้  สิ่งแวดล้อมเป็นวงจรและวัฎจักรที่เกี่ยวข้องกันไปทั้งระบบ








 ลักษณะโครงสร้างพื้นฐาน

การคมนาคม – การจราจร
          เทศบาลตำบลเจ็ดเสมียนมีเส้นทางคมนาคม ผ่านเพื่อให้ประชาชนใช้สัญจรไปมาทั้งทาง รถยนต์และรถไฟ
        การคมนาคมทางรถยนต์ ใช้โครงข่ายของระบบทางหลวง ซึ่งประกอบด้วยทางหลวง
แผ่นดินและทางหลวงจังหวัด หลายสายเชื่อมโยงพื้นที่ภายในจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่
       ๑) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ (ถนนเพชรเกษม) เชื่อมโยงระหว่างกรุงเทพฯ และจังหวัดต่างๆ ในภาคกลาง และภาคใต้
       ๒) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ (เดิม) (ถนนเพชรเกษม) เชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ เทศบาลตำบลเจ็ดเสมียน กับ จังหวัดราชบุรี
      ๓) ทางหลวงจังหวัดหมายเลข ๓๒๓๘ (แยก ๔ เดิม – เจ็ดเสมียน) เชื่อมโยงพื้นที่ ภายในเขตเทศบาลตำบลเจ็ดเสมียน
        การคมนาคมขนส่งทางรถไฟ   มีสถานีรถไฟบริเวณตลาดเจ็ดเสมียน เป็นเส้นทางรถไฟ   สายใต้  ที่ใช้ติดต่อระหว่างจังหวัดในภาคกลาง กับจังหวัดต่างๆ ในภาคใต้ และภาคตะวันตก

การไฟฟ้า
         มีการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโพธาราม บริการไฟฟ้าในเขตเทศบาลตำบลเจ็ดเสมียน
ทั้งด้านการใช้แสงสว่าง และใช้ในกิจการเพื่ออยู่อาศัย ตลอดจนใช้เพื่อธุรกิจ

จำนวนหมู่บ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึง  

หมู่บ้าน

จำนวนหลังคาเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ 
๑,๕๑๓

หลังคาเรือน




การประปา – แหล่งน้ำ
          มีการรวมกลุ่มในรูปสหกรณ์ เรียกว่า "สหกรณ์การประปาเจ็ดเสมียน" บริการน้ำบริโภค
และอุปโภค แก่ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเจ็ดเสมียน โดยให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง

จำนวนหมู่บ้านที่มีน้ำประปาใช้
หมู่บ้าน

จำนวนหลังคาเรือนที่มีน้ำประปาใช ๑,๓๑๗
หลังคาเรือน
และระบบประปาหมู่บ้าน บริการน้ำบริโภคและอุปโภค   แก่ประชาชนในเขตเทศบาลตำบล
เจ็ดเสมียน   ซึ่งให้บริการตลอด ๒๔ ชั่วโมง เช่นกัน

การไปรษณีย์
          การไปรษณีย์ มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข (เอกชน) จำนวน  ๑  แห่ง ตั้งอยู่
บริเวณหน้าวัดเจ็ดเสมียน

โทรศัพท์
          ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลเจ็ดเสมียน มีโทรศัพท์ใช้เกือบทุกครัวเรือน
 และมีชุมสายโทรศัพท์เจ็ดเสมียน  ๑  แห่ง

จำนวนหมู่บ้านที่มีโทรศัพท์ใช้  
หมู่บ้าน

จำนวนหลังคาเรือนที่มีโทรศัพท์ใช้ ๖๕๐
หลังคาเรือน
จำนวนหลังคาเรือนที่มีโทรศัพท์ใช้ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ   ๑,๔๖๕  เลขหมาย

การจราจร
          ในเขตเทศบาลตำบลเจ็ดเสมียนมีตู้พักสำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ จำนวน  ๑  แห่ง
  เพื่อรอรับแจ้งเหตุ และตรวจรักษาความสงบให้กับประชาชนในเขตเทศบาลฯ และ
เจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้อำนวยการจัดการจราจร และ ความสะดวกให้กับประชาชน



















ชาติพันธุ์ในตำบลเจ็ดเสมียน
คนไทยพื้นถิ่น
          ตำบลเจ็ดเสมียน เป็นตำบลที่เก่าแก่ตำบลหนึ่ง ที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานตาม ตำนานนิทานพื้นบ้าน เมืองโบราณ เรื่องพระยากง พระยาพาน ได้กล่าวถึงตำบลเจ็ดเสมียน เมื่อครั้งที่พระเจ้าแผ่นดินสุโขทัย ต้องการแผ่อำนาจขยายดินแดนรวบเอาเมืองนครไชยศรีเป็นเมืองขึ้น จึงให้บุตรบุญธรรมคือพระยาพานยกทัพซ่องสุ่มรี้พลตั้งอยู่ที่ " บ้านเจ็ดเสมียน " แสดงให้เห็นว่าชาติพันธุ์ของคนเจ็ดเสมียนมาตั้งถิ่นฐานอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแม่ กลอง ในสมัยสุโขทัยแล้ว ดูจากประวัติศาสตร์เมืองโบราณที่ขุดพบที่วัดโขลง ตำบลคูบัว พระปรางวัดมหาธาตุ ก็สร้างขึ้นสมัยทวาราวดีเช่นกัน
 
คนไทยเชื้อสายเขมร
          ชาวเขมรลาวเดิมเป็นชื่อเรียกประชากรกลุ่มหนึ่งของจังหวัดราชบุรี ที่ไม่มีหลักฐานใดๆกล่าวถึงถิ่นกำเนิดเดิมและสาเหตุของการอพยพเข้ามาอยู่ใน จังหวัดราชบุรีและจังหวัดใกล้เคียง นอกจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่บางคนว่าถูกกวาดต้อนมาจากทางเหนือ ชาวเขมรลาวเดิมมีภาษาพูดสำเนียงคล้ายภาษาอีสาน ศัพท์สำนวนบางคำคล้ายกับภาษาไทยเหนือและอีสาน มีข้อความในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ได้กล่าวถึงการกวาดต้อนเขมรมาจากเมืองโพธิ์สัตว์ เสียมราฐ และพระตะบอง
          เขมรเจ็ดเสมียนไม่ใช่เขมรที่ถูกกวาดต้อนมาจากเมืองโพธิ์สัตว์ เสียมราฐ และพระตะบอง แต่เป็นคนไทยเชื้อสายเขมรที่อพยพมาจากเมืองสุรินทร์ ไม่มีหลักฐานปรากฏว่าอพยพมาจากตำบล อำเภออะไร ในสมัยใด ผู้เฒ่าผู้แก่ซึ่งเป็นลูกหลานได้ลำดับเหตุการณ์ให้ฟังว่าในการอพยพมาตั้ง ถิ่นฐานอยู่ที่ตำบลเจ็ดเสมียนนนั้นอพยพกันมาหมดหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นผู้เฒ่าผู้แก่ลูกเล็กเด็กแดง มีผู้นำเป็นนายกองเลี้ยงช้างของพระเจ้าแผ่นดิน ชื่อพระวิเชนทร์ (อุเทน ) มีช้างแสนที่นำมาจากเมืองสุรินทร์หลายโขลงด้วยกัน มีหัวหน้าฝูงที่เป็นผู้นำชื่อเจ้าบัวบาน เป็นช้างที่แสนรู้และเก่งกาจในเชิงรบ ซึ่งต่อมาพระวิเชนทร์ได้จบชีวิตลง เมื่อครั้งที่เจ้าบัวบานตกมัน พระวิเชนทร์ถูกเจ้าบัวบานแทงด้วยงาเสียชีวิต
          ในอดีต คนไทยเชื้อสายเขมร ส่วนมากอาศัยอยู่ที่บ้านสนามชัย และบ้านกุ่ม ( บ้านเกาะสมบูรณ์ ) ใช้นามสกุลวงศ์ไอยรา ต่อมาเปลี่ยนมาใช้นามสกุลว่า วงศ์ยะรา จะทำบุญกันที่วัดสนามชัย เพราะบรรพบุรุษคือพระวิเชนทร์ได้ปวารณาตัวเป็นอุฏฐากผู้บำรุงวัดพร้อมด้วย ญาติพี่น้อง เป็นผู้ริเริ่มในการสร้างวัด บูรณะปฏิสังขรณ์วัดเรื่อยมา
 
คนไทยเชื้อสายลาว
          คนไทยเชื้อสายลาวของเจ็ดเสมียน เป็นกลุ่มคนที่มีเชื้อสายลาวมาจากเมืองจากเมืองเวียงจันทน์สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในจังหวัดราชบุรี ตั้งแต่สมัยธนบุรีมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเรียกว่าลาวตี้ จะพูดลงท้ายด้วยคำว่า " ตี้ " แต่ปัจจุบันทางการเรียกกล่าวลาวเวียง ส่วนมากจะอาศัยอยู่ที่เขาแร้ง อำเภอเมือง บ้านฆ้อง บ้านบ่อมะกรูด บ้านเลือก ดอนทราย บ้านสิงห์ บ้านกำแพงเหนือ บ้านกำแพงใต้  ในอำเภอโพธาราม บ้านดอนเสลา บ้านหนองปลาดุก บ้านหนองอ้อ บ้านฆ้องน้อย ในอำเภอบ้านโป่งนอกจากนี้ยังมีอีกกลุ่มที่อำเภอจอมบึงในเขตบ้านนาสมอ บ้านสูงเนิน บ้านทำเนียบ บ้านเกาะ บ้านหนอง บ้านเก่า บ้านวังมะเดื่อ
          ส่วนคนไทยเชื้อสายลาวของเจ็ดเสมียนจะอาศัยอยู่ทางทิศตะวันออกของสถานีรถไฟ เจ็ดเสมียน ซึ่งเรียกกันว่า " ลาวบ้านท่า " จะทำบุญกันที่วัดเจ็ดเสมียน มีงานประเพณีที่ยังคงช่วยกันอนุรักษ์เอาไว้ 100 กว่าปีแล้ว คืองานประเพณีแห่ดอกไม้ท้ายสงกรานต์
 
คนไทยเชื้อสายจีน
          ชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นกลุ่มชนที่มีบทบาททางเศรษฐกิจต่อเมืองราชบุรีอย่างมาก ในสมัยพระบาทพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เป็นช่วงที่ชาวจีนอพยพเข้ามาในประเทศไทยมากที่สุด ชาวจีนที่อพยพเข้ามาสามารถแยกออกเป็น ๕ กลุ่ม ตามสำเนียงพูด ได้แก่ ชาวจีนกลุ่มแต้จิ๋ว จีนแคะ ไหหลำ และ ฮกเกี้ยน ชาวจีนเหล่านี้กระจัดกระจายอยู่ในเขตอำเภอเมืองราชบุรี อำเภอดำเนินสะดวก อำเภอบ้านโป่ง อำเภอโพธาราม เช่นเดียวกับคนไทยเชื้อสายจีนที่อพยพมาตั้งรกรากอยู่ที่เจ็ดเสมียนบางครอบ ครัวก็อพยพมาจากเมืองจีน บางครอบครัวก็มาจากเมืองราชบุรี บางครอบครัวก็มาจากโพธาราม ทำมาค้าขายกันอยู่ในตลาดเจ็ดเสมียน ซึ่งเป็นตลาดที่ทางวัดเจ็ดเสมียนได้สร้างขึ้นให้เป็นที่อยู่อาศัยและค้าขาย กัน เป็นอาคารไม้หลังเดียวหลังคามุงจาก ในครั้งแรกมีอาคารไม้อยู่หลังเดียวคือทางด้านทิศใต้ ส่วนทางด้านทิศเหนือจะเป็นเพิงไว้สำหรับขายของอยู่ข้างๆอุโบสถ
          ตลาดเจ็ดเสมียนสมัยก่อนมีความเจริญรุ่งเรือง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงเสด็จประพาสตลาดเจ็ดเสมียน เมื่อ ปีพ.ศ. ๒๔๓๑ ตลาดเจ็ดเสมียนเป็นที่ค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน ทุกๆ ๓ ค่ำ ๘ ค่ำ  ๑๓ ค่ำ จะมีนัดตอนเช้า มีพ่อค้าแม่ค้าจะนำของมาขายกันหลายท้องที่ สินค้าที่นำมาค้าขายมีหลากหลายชนิด เรือนัดจะจอดอยู่เรียงรายตั้งแต่ท่าตลาดจนถึงท่าน้ำของวัดเจ็ดเสมียน มีทั้งเรือขายจาก เรือเกลือ เรือโอ่ง เรือสินค้าเกษตร ฯลฯ การเดินทางและการค้าขายในสมัยนั้นจะใช้การเดินทางเรือและทางรถไฟ สินค้าบางชนิดก็ส่งเข้ากรุงเทพฯ โดยทางรถไฟ ในสมัยที่มี่การสร้างทางรถไฟสายใต้ ทางราชการได้จ้างคนจีนมาสร้างทางรถไฟ ก็มีหลายครอบครัวที่มาทำงานสร้างทางรถไฟมีครอบครัวอยู่ที่เจ็ดเสมียน คนจีนที่มาสร้างทางรถไฟจะปลูกโรงเป็นที่พักอยู่แถวต้นจามจุรี ( ข้างบ้านนางแปลก จันทร์ฉิม ) จะขุดดินมาสร้างทางรถไฟ บริเวณนั้นจึงเรียกว่า " บ่อเจ๊ก " การทำมาค้าขายของคนไทยเชื้อสายจีน ในตลาดเจ็ดเสมียน ทำให้ตลาดเจ็ดเสมียนมีความเจริญรุ่งเรือง มีทั้งกิจการโรงสี ร้านทอง โรงงานยาฝิ่น ร้านขายของเบ็ดเล็ด ขายผัก ขายปลา เครื่องใช้ไม้สอยสารพัด ฯลฯ ชาวจีนได้สร้างศาลเจ้าเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในตลาดเจ็ดเสมียน
          ด้วยความเจริญรุ่งเรืองในอดีต ตำบลเจ็ดเสมียนจึงเคยเป็นอำเภอมาก่อน เรียกว่าอำเภอเจ็ดเสมียน และย้ายไปตั้งที่ตำบลโพธาราม อำเภอโพธาราม ในปีพ.ศ. ๒๔๓๘ ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลอง ( ที่มาของชื่อ จังหวัด อำเภอ และสถานที่ราชการต่างๆในเขตการศึกษา จัดพิพม์โดยสำนักพิมพ์ศึกษษธิการเขต ๕ เมื่อปีฉลู จุลศักราชที่ ๑๒๓๙ พ.ศ. ๒๔๒๐ )
























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น