สถานที่สำคัญตำบลเจ็ดเสมียน

1.ตลาดเก่า 119 ปี เจ็ดเสมียน

ตลาดเจ็ดเสมียน แต่เดิมมีต้นจามจุรีใหญ่สองต้นอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง เป็นหมุดหมายของตลาดเล็กๆ ให้พ่อค้าแม่ค้าทางบกเอาสินค้ามาแลกเปลี่ยนสินค้าทางน้ำ มีเรือนแถวชั้นเดียวหลังคามุงจาก พอเป็นแหล่งพักพิงชั่วคราว  พอบ้านเมืองพัฒนาขึ้นก็โค่นต้นจามจุรีลง ปลูกห้องแถวไม้สองชั้นขึ้นมา ตัวตลาดสดขยับจากริมแม่น้ำเข้ามาใกล้ทางรถไฟมากขึ้น เรือนแถวชั้นเดียวก็ถูกรื้อร้างไป ตลาดใหม่นี้เป็นที่ซื้อขายของคนทั่วสองฝั่ง


ช่วงหนึ่งตลาดเจ็ดเสมียน เคยมีตลาดนัดทุกห้าวัน โดยนับตามข้างขึ้นข้างแรม สมัยต่อมา ตลาดเจ็ดเสมียนเริ่มแผ่วลง แต่ตลาดนัดโบราณ ทุก 3 ค่ำ 8 ค่ำ 13 ค่ำ เป็นตลาดนัดตอนเช้าก็ยังคงมีอยู่ จนถึงปัจจุบัน  หลังจากที่ตลาดเจ็ดเสมียนเงียบเหงาลง ชุมชนเจ็ดเสมียน วัดเจ็ดเสมียน สวนศิลป์บ้านดิน (ภัทราวดีเธียเตอร์) ได้ร่วมกันทำตลาดเก่าแห่งนี้ ฟื้นชีวิตขึ้นมาอีกครั้ง โดยมี มานพ มีจำรัส (ครูนาย) เป็นผู้จุดประกาย และครูเล็ก (ภัทราวดี มีชูธน) ได้ร่วมกับชุมชนเจ็ดเสมียน วัดเจ็ดเสมียน จัดงาน All About Arts (สืบสานงานศิลป์ภูมิปัญญาคนของแผ่นดิน) ทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ สุดท้ายของเดือน



2.สถานีรถไฟเจ็ดเสมียน





"วัดเจ็ดเสมียน" ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ต.เจ็ดเสมียน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี มีเนื้อที่ 19 ไร่ 6 ตารางวา ประกาศตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.2300 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ.2519 ปัจจุบันมีพระครูสุวัฒนพิศาล เป็นเจ้าอาวาส และเป็นเจ้าคณะตำบลเจ็ดเสมียน
วัดเจ็ดเสมียน ตั้งอยู่ใกล้ชุมชนตลาดเจ็ดเสมียนอยู่หลังสถานีรถไฟเจ็ดเสมียนสถานีเล็กๆ ที่รถไฟสายใต้ทุกขบวนต้องผ่านก่อนถึงราชบุรี
หัวใจของชุมชน คือ วัดเจ็ดเสมียน ดังพระราชนิพนธ์ "เสด็จประพาสไทรโยค" ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ตอนหนึ่งว่า

" วัดเจ็ดเสมียน ลานวัดกว้างใหญ่ ต้นไม้ร่มดูงามนัก เรือลูกค้าจอดอาศัยอยู่ที่นี้มาก บ้านเจ็ดเสมียนนี้เป็นที่ชอบของนักเลงกลอน พอใจจะอยากไหว้วานให้เสมียนมาจดแทบทุกฉบับ ในนิราศพระพุทธยอดฟ้าก็มีว่าถึงเจ็ดเสมียนนี้เหมือนกัน"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น